วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุุ (Sexual tranmitted disease)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เริ่มจะพบมากขึ้นในวัยรุ่นซึ่งจะมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การป้องกันตัวเองทั้งการตั้งครรภ์และโรคติดต่อ การที่เรามีความรู้เกี่ยวกับการติดต่อ อาการของโรค การรักษา จะเป็นขั้นแรกของการป้องกันโรค ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรทราบ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้น แต่พบมากในหมู่วัยรุ่น
อัตราการติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบมากขึ้นเนื่องจากวัยรุ่นมีค่านิยมที่จะอยู่ก่อนแต่งงาน หรือนิยมมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังไม่มาก และที่สำคัญมีการหย่าล้างสูงทำให้คนมีสามีหรือภรรยาหลายคน ทำให้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยมากมักจะไม่เกิดอาการ ดังนั้นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อโดยที่ไม่รู้ตัว แพทย์บางประเทศจึงแนะนำให้มีการตรวจค้นหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับคนที่สำส่อน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมาก
โรคอาจจะลุกลามไปยังมดลูกหรือท่อรังไข่ทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง
Pelvic inflammatory disease ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่นการติดเชื้อ human papillomavirus infection (HPV) ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรค
การมีเพศสัมพันธ์กับชายหรือหญิงบริการใน 3 เดือนที่ผ่านมา
การมีคู่นอนมากกว่า 1 คนใน 3 เดือนที่ผ่านมา
การมีเพศสัมพันธ์กับคู่คนใหม่ใน 3 เดือนที่ผ่านมา
การที่มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 1 ปีที่ผ่านมา
การที่สามีหรือภรรยามีคู่นอนมากกว่า 1 คนใน 3 เดือนที่ผ่านมา
การที่คู่ครองอยู่กันคนละที่
อาการของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ปัสสาวะขัด
มีผื่น แผลหรือตุ่มน้ำที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก
มีหนองหรือน้ำหลั่งจากช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ
มีอาการคันหรือปวดบริเวณทวาร
มีอาการแดงและปวดบริเวณอวัยวะเพศ
ปวดท้องหรือปวดช่องเชิงกราน
ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
ตกขาวบ่อย

การรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจะทำให้รักษาหายขาด การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะทำให้ติดโรคเดอส์ง่ายขึ้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
>>>>>>
โรคเอดส์<<<<<<<< เป็นโรคที่เริ่มมีรายงานเมื่อปี 1981 เกิดจากเชื้อ human immunodeficiency virus (HIV), ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อพวกฉวยโอกาสและมะเร็ง >>>>>การติดเชื้อ clamydia<<<<<< เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุด ทำให้เกิดอาการมีหนองไหลและมีอาการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้รักษาอาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องเชิงกรานเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก >>>>>เริมที่อวัยวะเพศ<<<<< เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดเชื้อไวรัส herpes simplex virus ทำให้เกิดอาการปวดแสบบริเวณขา ก้นหรืออวัยวะเพศ และตามด้วยผื่นเป็นตุ่มน้ำใส แผลหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์แต่เชื้อยังอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกลับเป็นใหม่ >>>>>หนองในแท้ <<<<< เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ มีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา >>>>> หูด<<<<< เกิดจากเชื้อไวรัส human papillomavirus ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศลักษณะเป็นผื่นนูน ไม่เจ็บ ผื่นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น หากไม่รักษาผื่นจะโตเป็นลักษณะหงอนไก่ Molluscum
>>>>>
ซิฟิลิส <<<<< เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ไม่บ่อย การติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็งไม่เจ็บที่อวัยวะเพศ ไม่ไม่รักษาจะกลายเป็นระยะที่สองที่เรียกว่าเข้าข้อหรือออกดอก หากทิ้งไว้นานจะติดเชื้อที่ระบบประสาท และหัวใจ >>>>>แผลริมอ่อน <<<<<< เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากเชื้อ Haemophilus Ducreyi ลักษณะของโรคจะมีแผลที่อวัยวะเพศ บวมและเจ็บ บางคนมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบหรือที่ชาวบ้านเรียกไข่ดันบวม หากไม่รักษาหนองจะแตกออกจากต่อมน้ำเหลือง >>>>>ตัวโลน <<<<< เกิดจากแมลงตัวเล็กที่เรียกว่า pediculosis pubis อาศัยอยู่ที่ขนหัวเหน่า ดูดเลือดคนเราเป็นอาหาร ผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการคันเป็นหลัก เมื่อเกาจะทำให้เจ้าตัวเชื้อแพร่ไปยังบริเวณอื่น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยตาเปล่า จะพบไข่สีขาวเกาะตรงโคนขน ไข่จะมีลักษณะวงรี ส่วนตัวแมลงเมื่อกินเลือดเต็มที่จะออกสีน้ำตาล ะม่วง การติดเชื้อราในช่องคลอหิด ตับอักเสบ หนองในเทียม อุ้งเชิงกรานอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ติดเชื้อtrichomonase ฝีม
การรักษาตัวโลนสามารถซื้อยาทาได้ตามร้านขายยา แต่คนท้องหรือเด็กควรจะปรึกษาแพทย์
การป้องกัน สมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท คู่นอนควรจะได้รับการดูแลพร้อมกันเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนควนจะนำไปต้มหรือซักแห้ง แล้วรีดด้วยเตารีด ตัวแมลงอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงเมื่อไม่ได้อยู่กับคน ส่วนไข่อยู่ได้นานถึง 6 วัน
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หากยังมีเพศสัมพันธ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
ไม่เปลี่ยนคู่นอน ให้มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
ใส่ถุงยางให้ถูกต้องหากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
อย่ามีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยเพราะจากสถิติหากมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยจะมีโอกาสติดโรคสูง
ให้ตรวจประจำปีเพื่อหาเชื้อโรคแม้ว่าจะไม่มีอาการ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการแต่งงานใหม่
เรียนรู้อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อย่าร่วมเพศขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เกิดโรคติดต่อได้ง่าย
อย่ามีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
อย่าสวนล้างช่องคลอดเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
สำหรับผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องปฏิบัติตัวอย่าง
ให้รักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
แจ้งให้คู่นอนทราบว่าคุณเป็นโรคเพื่อที่จะป้องกันโรคมิให้แพร่สู่คนอื่น และให้ได้รับการรักษา
รักษาตามแพทย์สั่ง
งดร่วมเพศ
อาการของโรคและเชื้อที่เป็นสาเหตุ
อาการ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ตกขาวมากผิดปกติ
clamydia herpes gonorrhea PID trichomonase yeast infection Bacterial vaginosis
หนองไหลจากอวัยวะเพศ
clamydia gonorrhea trichomonase หนองในเทียม
เลือดออกช่องคลอดผิดปกติ
clamydia gonorrhea PID
เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
clamydia herpes gonorrhea PID
ปัสสาวะขัด
clamydia herpes gonorrhea trichomonase
ปวดท้องน้อย
clamydia gonorrhea PID
ปวด บวมอัณฑะ
clamydia gonorrhea
คันบริเวณอวัยวะเพศ
trichomonase yeast infection Bacterial vaginosis herpes
แผลบริเวณอวัยวะเพศ
herpes chancroid syphilis
ก้อนเนื้อบริเวณอวัยวะเพศ
warts
ตัวเหลืองตาเหลือง
heapatitis B heapatitis C

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โรคติดต่อ hiv

โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
โรค (Disease)หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเกิดความไม่สมดุลย์ ไปจากภาวะปกติ เนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆได้หลายอย่างเช่น การได้รับเชื้อโรค การได้รับอุบัติเหตุการได้รับสิ่งกระทบกระเทือนทางจิตใจหรือทางร่างกายเราสามารถแยกโรคออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ โรคไม่ติดต่อและติดต่อโรคไม่ติดต่อ หมายถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจโรคเบาหวาน ,โรคมะเร็ง ,โรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น
โรคหัวใจ เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจขาดเลือด ,ไข้รูมาติก ,โรคความดันโลหิต ,โรคมะเร็ง ,โรคเบาหวาน ,โรคทางพันธุกรรม โรคจิต ,โรคประสาท ,โรคกระดูกและข้อ
โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่เป็นแล้วสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ สามารถติดได้ทาง ทางเดินหายใจ การสัมผัส ทางเดินอาหาร ทางกระแสเลือด ทางการสืบพันธ์ เป็นต้น
โรคเอดส์โรคตับอักเสบไวรัส ,โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ,โรคติดเชื้อทางทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัด ,วัณโรค โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก
โรคติดต่อที่สำคัญ
โรคเอดส์ (HIV,AIDS)
ประเทศไทยมีการติดเชื้อ HIV เป็นจำนวนมากแม้ว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการสมควรที่ทุกคนจะเรียนรู้ถึงโรคและการป้องกัน หากท่านมีผลเลือดบวกแสดงว่าท่านได้รับเชื้อ HIV จากการร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน หรืออาจจะเกิดจากการฉีดยาเสพติด
HIV และ AIDS ต่างกันอย่างไร
เชื้อ Human Immunodeficiency Virus(hiv) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะแบ่งตัวอย่างมากและมีการเกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ไตและที่สำคัญคือจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่สร้างถูมิเพื่อต่อต้านการติดเชื้อและมะเร็งบางชนิด ในการสร้างภูมิจะต้องอาศัยเซลล์หลายชนิดที่สำคัญได้แก่เซลล์ CD4+ lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์ที่เชื้อ HIV ชอบ เมื่อเซลล์ CD4+ lymphocytes ถูกทำลายโดยเชื้อมากจะทำให้ภูมิของร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นปัญหาที่สำคัญของคนติดเชื้อ HIV คือปัญหาของโรคที่เกิดจากภูมิที่อ่อนแอลงเช่นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส opportunisticinfections เช่นโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมะเร็งบางชนิด ปัจจุบันพบเชื้อ HIV มี2 ชนิดคือ
- HIV-1 เป็นชนิดที่แพร่ระบาดทั่วโลก - HIV-2 พบที่แถบประเทศ Africa HIV-1มี sub-types หลายชนิด
HIV disease คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อHIV และยังไม่เกิดอาการจากเชื้อฉวยโอกาสและมีจำนวนเซลล์ CD4+ lymphocytes มากกว่า 200 cells/mm3(ปกติมากกว่า 100 cell/mm)โดยทั่วไปไม่มีอาการเป็นเวลา 5-10 ปีแม้ว่าจะไม่มีอาการเชื้อก็แบ่งตัวและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเมื่อภูมิถูกทำลายมากจนกระทั่งเกิดโรคที่เกิดจากภูมิบกพร่อง Acquired Immunodeficiency Syndrome หรือโรคเอดส์ คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV และโรคได้ลุกลามจนภูมิคุ้นกันบกพร่อง และอาจจะทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสและมะเร็ง ตามองค์การควบคุมโรคติดเชื้อของอเมริกาหมายถึง
โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Pneumocystis carinii pneumonia (PCP), and cryptococcal meningitis
มะเร็งบางชนิดเช่น cervical cancer, Kaposi’s sarcoma, และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาท ( centralnervous system lymphoma ) CD4+ count น้อยกว่า 200 cells/mm3(ค่าปกติ 600-1000) หรือ 14 percent of lymphocytes
AIDS ทำลายร่างกายอย่างไร
ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและมะเร็ง
สมองถูกทำลายทำให้สมองเสื่อมและความจำเสื่อม ทำให้หัวใจวายมีอาการเหนื่อยง่าย บวมเท้าและท้อง ทำให้ไตวาย ไม่สามารถทำงานประจำวันได้เช่น การขับรถ มีการเปลี่ยนแปลงทางน้ำหนักและท้องร่วงเรื้อรัง

อาการของโรคติดเชื้อ HIV
อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค เนื่องจากเชื้อ HIV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งอาการของการติดเชื้อ HIV จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย เราไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ฉนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือด ในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ
- น้ำหนักลด. มีไข้
- ไอและหายใจลำบาก
เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้
- เหงื่อออกกลางคืน
- ไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรัง
- ไอเรื้อรังและหายใจลำบาก
- ท้องร่วงเรื้อรัง
- ลิ้นเป็นฝ้าขาว
- ปวดศีรษะ
- ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา
- น้ำหนักลด
การติดต่อของเชื้อ HIV
เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้หลายทางดังต่อไปนี้
1. ทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะไม่ได้ใส่ถุงยางคุมกำเนิดเมื่อร่วมเพศกับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ไม่ทราบสถานะของคู่ขา ) ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศระหว่างชายหญิงหรือทางทวารหนัก หรือ ทางปาก หรือการใช้อุปกรณ์ทางเพศร่วมกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เช่น ถุงยางคุมกำเนิด การที่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน แผลริมอ่อน หรือการใช้ยาฆ่า sperm จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
2. การใช้เข็มร่วมกันสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดท่านควรจะใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่นโดยเฉพาะใช้ร่วมกันหลายคนและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ บี
ติดต่อโดยการให้เลือดที่มีเชื้อโรค ซึ่งปัจจุบันการตรวจเลือดและการคัดกรองการบริจาคทำให้ปัญหานี้ลดลง
3. การติดต่อจากแม่ไปลูก เด็กประมาณ1/4-1/3ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ HIV ที่ไม่ได้รับการรักษาจะติดเชื้อ HIV แต่ถ้าหากแม่ได้รับการรักษาโอกาสติดเชื้อจะลดลงโดยเฉพาะหากผ่าตัดทางหน้าท้อง
กิจกรรมที่ไม่ติดต่อ
หลายท่านที่มีเพื่อนหรือญาติเป็นโรค AIDS กังวลจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจนำไปสู่การซึมเศร้าท่านไม่สามารถติดเชื้อจาก อากาศ อาหาร น้ำ ยุงหรือแมลงกัด ห้องน้ำ ช้อนซ่อม ท่านสามารถช่วยผู้ป่วยใส่เสื้อผ้า ช่วยป้อนอาหารอาบน้ำโดยที่ไม่ติดเชื้อ กิจกรรมที่ดำเนินตามปกติมักจะไม่ติดต่อ เช่น การจับมือหรือการสัมผัสภายนอก ,การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน, การใช้ถ้วยชามร่วมกัน, สัมผัสกับเหงื่อหรือน้ำตาก็ไม่ติดต่อ, การว่ายน้ำในสระเดียวกัน, การใช้โถส้วมเดียวกัน, ถูกแมลงหรือยุงกัด, การจูบกัน, การบริจาคเลือด
ความสำคัญของการวินิจฉัย
หลายคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ไม่กล้าเจาะเลือดเพราะเข้าใจผิดว่าไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ หากท่านรอจนกระทั้งเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสจึงรู้ว่าเป็นโรค aids โอกาสที่จะรักษาและป้องกันก็จะน้อยลง ดังนั้นท่านที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อ HIV เช่นใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น มีเพศสัมพันธ์กับคู่ขาหลายคนโดยที่ไม่ได้ป้องกัน รักร่วมเพศ จะต้องรีบตรวจหาเชื้อ หากผลเลือดให้ผลบวกจะได้รับยาที่ชลอการเกิดโรคAIDS และยาที่ลดการติดเชื้อฉวยโอกาสหากท่านไม่เจาะรอจนกระทั้งเป็น AIDS ภูมิของท่านรวมทั้งอวัยวะภายในจะถูกทำลาย
โรคติดเชื้อ HIV และระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) เข้ากระแสเลือดเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การทำลายภูมิอาจจะเร็วต่างกันในแต่ละคน บางคนทำลายเร็วไม่กี่ปีก็เป็นโรคเอดส์ แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 10 ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงที่ควรทราบดังนี้
การเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ HIV ในเลือด (viral load) จะสามารถคาดการณ์ไดว่าเชื้อจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันเร็วแค่ไหน ถ้าเชื้อมีปริมาณมากจะทำลายภูมิของร่างกายเร็ว ยาต้านไวรัส HIV ที่ดีจะสามารถยับยังการแบ่งตัวของเชื้อทำให้หยุดยั้งการดำเนินของโรค การเจาะเลือดหาเซลล์ CD-4 จะบ่งบอกสภาพภูมิของร่างกาย เซลล์ CD-4 ยิ่งต่ำภูมิยิ่งบกพร่องมากขึ้นเท่านั้น หากไม่ได้รักษาเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันอย่างมากทำให้ร่างกายติดเชื้อฉวยโอกาส โดยเฉพาะปริมาณเซลล์ CD-4 น้อยกว่า 300 ถ้าหากต่ำกว่า 100 จะมีการติดเชื้อรุนแรง
ใครควรที่จะต้องเจาะเลือดหาเชื้อHIV
ผู้ที่ได้รับเลือดและหรือน้ำเหลืองก่อนปี คศ.1970-1980 รักร่วมเพศ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นโดยไม่ได้ป้องกัน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ผู้ที่มีคู่ขาหลายคน ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข่นซิฟิลิส หนองใน ผู้ติดยาเสพติดเข้าเส้น คนท้อง คนท้องกับโรคAIDS คนท้องทุกคนควรได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากผลเลือดบวกก็ควรจะได้รับยา antiretrovirals เพื่อป้องกันเชื้อถ่ายจากแม่ไปลูก และไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
การตรวจหาการติดเชื้อ
เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิของโรค เจาะเลือดตรวจหาภูมิโดยวิธี enzyme-linked immunoabsorbent assay (ELISA) ถ้าให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธีการ Western Blot แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้เร็วคือหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 6 เดือนจึงให้ผลบวก
การตรวจ HIV PCR เป็นการตรวจหาตัวเชื้อหลังจากสัมผัสโรคโดยที่ภูมิยังไม่ขึ้น
การป้องกันการติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อ HIV เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่นการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถลดการเกิดอัตราติดเชื้อเหมือนที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการให้ใช้ถุงยาง 100 % เนื่องจากยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนที่ป้องกันโรคดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรค
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
สมัยก่อนผู้ที่ติดเชื้อมักจะเป็นพวกรักร่วมเพศ หรือฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อHIV พบได้ใน วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
โรคและการป้องกัน
โรคเป็นความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ เกิดได้ทั้งในคนและสัตว์ โรคมีทั้งโรคไม่ติดต่อ และโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายจึงไม่ติดต่อกัน เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น แต่โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคถ่ายทอดจากคน สัตว์ หรือแมลงที่เป็นโรคไปสู่คนปกติ
1.)การสัมผัสโดยตรง เชื้อโรคจะแพร่เชื้อออกจากตัวผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นได้โดยการสัมผัสใกล้ชิด เสียดสีแตะต้องน้ำมูก น้ำลาย หรือไอ จามกัน เสมหะจากการไอจามรดกันจะกระจายไปได้ไกล ประมาณ 15 ฟุต
2.) การสัมผัสทางอ้อม เชื้อโรคจะแพร่จากผู้ป่วยไปยังบุคคลอื่นได้โดยอาศัยสิ่งอื่นนำไป เช่น น้ำ ดิน อาหาร วัตถุ แมลง สัตว์ ตลอดจนเสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่างๆ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ 4 ทาง คือทางปาก ทางหายใจ ทางผิวหนัง และทางอวัยวะสืบพันธุ์ โรคที่พบเสมอๆ แบ่งออกเป็น 4 พวก คือ
1) โรคติดต่อจากการสัมผัส ได้แก่ เหา หิด กลาก เกลื้อน พุพอง เยื่อตาอักเสบ และริดสีดวงตา การติดต่อเกิดจากการใกล้ชิด ใช้เสื้อผ้า เครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย
2) โรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด คอตีบ วัณโรค ไอกรน ติดต่อโดยหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อโรคเข้าไป
3) โรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ บิด ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดใหญ่ อหิวาตกโรค พยาธิลำไส้ ไข้รากสากน้อย(ไทฟอยด์)บิด อหิวาตกโรคเกิดจากกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อบิด เชื้อไทฟอยด์ เชื้ออหิวาตกโรคเข้าไป ไข้รากสาดใหญ่เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่งโดยมี เหาหรือหมัดหนูหรือตัวไรอ่อนเป็นตัวนำโรค

การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว

การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ...ดีต่อสุขภาพ
อาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อเหลือเชื่อ ที่น้ำจะเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดูแลรูปลักษณ์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะต้องดื่มน้ำเพราะความจำเป็น แต่ในความเป็นจริง น้ำ เป็น “อาหารอันวิเศษ” ที่ช่วยในการดูแลรูปลักษณ์อย่างถาวร
ต้องทำน้ำเพื่อให้ไตทำงาน ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเราทานน้ำไม่เพียงพอ เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ตับก็จะเป็นตัวที่ต้องทำงานหนักขึ้น หน้าที่หลักของตับก็คือ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันที่สะสมในร่างกายให้เกิดเป็นพลังงาน แต่ตับต้องมาทำหน้าที่ของไต ทำให้มันไม่สามารถทำหน้าที่หลักได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้เอง จำทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้น้อยลง และยิ่งเพิ่มการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น และทำให้การดูแลรูปลักษณ์หยุดชะงักลง
กักน้ำด้วยน้ำ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เป็นการรักษาของเหลวไว้ได้ดีที่สุด เมื่อร่างกายได้รับน้ำน้อย มันจะรับรู้ว่าจะต้องรักษาความอยู่รอดไว้โดยจะต้องรักษาน้ำไว้ทุกหยด ร่างกายจะกักเก็บน้ำไว้ในที่ว่างพิเศษในโพรงเล็กๆ (ภายนอกเซลล์) ซึ่งจะเห็นได้จากอาหารบวมที่เท้า มือ และขา การขับปัสสาวะจะช่วยให้ดีขึ้นชั่วคราว และจะบังคับให้ร่างกายเกิดความรู้สึกว่าจะต้องมีน้ำเข้ามากักเก็บไว้พร้อมกับความต้องการสารอาหารที่สำคัญบางชนิด เมื่อร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ อาการที่เกิดขึ้นก็จะหายเป็นปกติ วิธีที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดน้ำในร่างกาย ก็คือเราจะต้องดื่มน้ำในปริมาณมากเพื่อที่ร่างกายจะมีน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน หากคุณมีปัญหาร่างกายขาดน้ำอาจมาจากสาเหตุที่ร่างกายได้รับปริมาณเกลือมากเกินไป ร่างกายของเราจะสามารถรับปริมาณโซเดียมได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่การกำจัดปริมาณเกลือที่ทานเข้าไปเกินความต้องการนั้นสามารถทำได้ง่าย เพียงแต่ดื่มน้ำให้มากขึ้นเท่านั้น เพราะน้ำจะช่วยให้ไตขับโซเดียมออกมา คนที่มีน้ำหนักมากร่างกายต้องการน้ำมากกว่าคนผอม คนตัวใหญ่จะมีการเผาผลาญที่มากกว่า น้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีน้ำหนักมาก เพราะน้ำเป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการเผาผลาญไขมัน
น้ำยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อของเรามีความชุ่มชื้น และยังทำให้ผิวหนังไม่เหี่ยวย่นหลังจากการดูแลรูปลักษณ์ เซลล์ขนาดเล็กสามารถลอยตัวอยู่ได้ด้วยน้ำทำให้ผิวหนังดูเปล่งปลั่งและสดใส ชุ่มชื้น
น้ำยังช่วยกำจัดของเสีย ระหว่างการดูแลรูปลักษณ์ร่างกายจะมีของเสีย โดยเฉพาะไขมันที่จะต้องกำจัดออก ซึ่งถ้าหากร่างกายมีน้ำเพียงพอก็สามารถกำจัดของเสียเหล่านี้ออกมาได้มาก

น้ำช่วยบรรเทาอาการท้องผูก น้ำสามารถช่วยไม่ให้ท้องผูก หากร่างกายได้รับน้ำน้อย ทำให้ขับถ่ายลำบาก ซึ่งทำให้เกิดท้องผูก แต่สามารถช่วยให้หายได้ โดยการดื่มน้ำให้เพียงพอ ได้มีการค้นพบว่าน้ำมีส่วนช่วยในการดูแลรูปลักษณ์ ร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยสมบูรณ์หากได้รับน้ำไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการเผาผลาญไขมันที่สะสม หากร่างกายเก็บน้ำไว้มากจะดูได้จากการที่มีน้ำหนักเกิน แต่แก้ไขได้โดยการดื่มน้ำเพิ่มขึ้น การดื่มน้ำมากขึ้นจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการดูแลรูปลักษณ์ ดื่มน้ำเท่าไหร่จึงจะพอ? โดยเฉพาะควรดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้นอีก และจะต้องเพิ่มขึ้นอีกหากคนๆ นั้น ชอบออกกำลังกาย หรืออยู่ในที่ๆมีอาการร้อน หรือแห้ง น้ำเย็นจะถูกดูดซึมในร่างกายได้เร็วกว่าน้ำอุ่น บางหลักฐานแนะนำว่า การดื่มน้ำเย็นจะช่วยเผาผลาญแคลลอรี่ ในการที่จะใช้ประโยชน์จากการดื่มน้ำเพื่อช่วยในการลดน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรปฏิบัติ ดังนี้
เช้า ดื่มน้ำหนึ่งควอต ทุก ๆครึ่งชั่วโมง
บ่าย ดื่มน้ำหนึ่งควอต ทุก ๆครึ่งชั่วโมง
เย็น ดื่มน้ำหนึ่งควอต ระหว่างเวลา 5 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม
เมื่อร่างกายได้รับน้ำ มันจะต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ร่างกายจำเป็นต้องรักษาระดับของของเหลวให้สมดุลย์ไว้ ซึ่งเรียกว่า "breakthrough Point" ซึ่งหมายถึง ต่อมเอ็นโดซีนจะสามารถทำงานได้ดีขึ้น เมื่อการรักษาระดับของเหลวในร่างกายเบาบางลงเนื้องจากสูญเสียน้ำ ไขมันจำนวนมากจะถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากตับมีอิสระในการทำหน้าที่เผาผลาญไขมันที่สะสม ทำให้เกิดความรู้สึกกระหายน้ำ รู้สึกหิวตลอดเวลา หากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดการขาดความสมดุลย์ในการรักษาระดับของเหลวในร่างกาย ซึ่งจะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร เพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติคุณจะต้องดื่มน้ำจำนวนมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การสืบพันธุ์เพศชาย

การสืบพันธุ์เพศชาย
การสืบพันธ ุ์หมายถึง การเพิ่มจำนวนหรือการให้กำเนิดลูกหลานที่เหมือนพ่อแม่หรือบรรพบุรุษ เพื่อทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
เพื่อให้เผ่าพันธุ์ได้ดำรงไว้
1.อัณฑะ เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อันทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลักษระต่างๆของเพศชาย เช่น การมีหนวด เครา เสียงห้าว ภายในอัณฑะประกอบด้วย หลอดสร้างอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ มีข้างละประมาณ 800 หลอด ยาวทั้งหมดประมาณ 800 เมตร
2.ถุงหุ้มอัณฑะ อยู่นอกช่องท้อง ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้เมาะสมในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอุณหภูมิจะต่ำกว่าในร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
3.หลอดเก็บอสุจิ อยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อๆเล็ก ยาวประมาณ 6 เมตร ขดไปมาทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ
4.หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5.ต่อมสร้างนำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อเลี้ยงตัวอสุจิ
6.ต่อมลูกหมาก อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะ
7.ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่ หลั่งสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็วขึ้น

โดยทั่วไป เพศชายจะเข้าสู่วัยที่สร้างตัวอสุจิ เมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี สร้างไปตลอดชีวิต การหลั่งอสุจิแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาประมาณ 3-4 ลบซม. ตัวอสุจิประมาณ 350-500 ล้านตัว ผู้ที่มีตัวอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวนั้นจะเป็นหมัน ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้ประมาณ 1-3 มิลิเมตร ต่อนาที ตัวอสุจิเมื่อเคลื่อนที่ออกภายนอกมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 ชม.ถ้าอยู่ในมดลูกผู้หญิงจะอยู่ได้ นานถึง 24-48 ชม.

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อาหารหลัก5หมู่

~อาหารหลัก 5 หมู่ ~
ประเทศไทยเราได้ แบ่งอาหารออกเป็น 5หมู่ โดยจัดอาหารที่ให้สารอาหารคล้ายกัน เข้าไว้ในหมู่เดียวกัน เพื่อให้เราสามารถพิจารณาได้ว่าได้กินอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือไม่ อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้ หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ดังนั้น ในวันหนึ่งๆ เราจะต้องเลือกกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะและในแต่ละหมู่ ควรเลือกกินให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารต่างๆ ครบตามต้องการของร่างกาย อันจะนำไปสู่การกินดีมีผลให้เกิด "ภาวะโภชนาการดี"
กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย คือ การกินอาหาร หลายๆ ชนิด เพื่อให้ร่างกาย ได้รับ สารอาหาร ต่างๆ ครบในปริมาณ ที่เพียงพอ กับความต้องการ ถ้ากินอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ หรือกินอาหาร ซ้ำซากเพียง บางชนิด ทุกวัน อาจทำให้ได้รับ สารอาหารบางประเภท ไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป อาหารแต่ละ ชนิด ประกอบด้วย สารอาหาร หลายประเภท ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำและยังมี สารอื่นๆ เช่น ใยอาหารซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำงานได้ตามปกติในอาหาร แต่ละชนิดจะประกอบด้วยสารอาหาร ต่างๆ ในปริมาณที่มากน้อยต่างกัน โดยไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่จะมีสารอาหารต่างๆ ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ของร่างกาย ดังนั้น ในวันหนึ่งๆ เราต้องกิน อาหารหลายๆ ชนิด เพื่อให้ได้ สารอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการ
อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้
หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ

หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3
หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย


ถ้าเกิดเราทานไข่เจียวหมูสับราดข้าว เราจะได้สารอาหารในหมู่ใดบ้าง
หมู่ที่ 1,3,4 หมู่ที่ 1,2

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สิ่งเสพติด

สิ่งเสพติด
สิ่งเสพติด คือ ยาประเภทหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้ผู้ได้รับมีความต้องการมากขึ้นเรื่อย โดยจะเข้าสู่ร่างกายโดยการ กิน สูบ ฉีด หรือดม ผลของสิ่งเสพติดต่อการทำงานของผู้เสพจะเกิดโทษต่างๆ เช่น
1.) บุหรี่ ในบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งจะระเหยออกมาพร้อมกับควันบุหรี่ สารนิโคติน จะเป็นอันตรายต่อหัวใจ ระบบประสาท อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เป็นต้น
2.) น้ำชา กาแฟ จะมีสารคาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้รู้สึกสดชื่นหายง่วง
3.) สุรา เครื่องดื่มทุกชนิด ที่ดื่มแล้วทำให้มันเมา ในสุรามีแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์เข้าไปในกระแสเลือด เลือดก็จะนำไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเราดื่มมากๆ อาจจะทำให้เป็นโรคตับแข็ง และยังเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ปอด เป็นต้น
4.) ยาบ้า หรือ แอมเฟตามีน มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทและสมอง ทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะทำให้มึนงง นอนไม่หลับ ตกใจง่าย อ่อนล้า คลุ้มคลั่ง ประสาท หลอน คลื่นไส้ อาเจียน อาจถึงขั้นหลอดเลือดในสมองแตกและหัวใจวาย
5. ) สารระเหย เป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย ในอุณหภูมิปกติจะพบในรูปของตัวทำละลาย เช่น ทินเนอร์ น้ำยาล้างเล็บ กาว เป็นต้น เมื่อร่างกายรับสารระเหยเข้าไปในระยะแรก จะเกิดอาการตื่นเต้น ร่าเริงต่อมาจะมีอาการมึนงง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จะง่วงซึมและหมดสติในที่สุด
6.) กัญชา เป็นพืชล้มลุก ในใบ ดอก ลำต้นกัญชาจะมีสารเสพติดที่เป็นน้ำมัน เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระตุก ปวดร้าว สมองมึนงง ความคิดสับสน กระหายน้ำ หวาดผวา เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกาย
7.) ฝิ่น ได้จากเปลือกผลดิบมีลักษณะเป็นยาง เรียกว่า ฝิ่นดิบ นำมาเคี่ยวให้สุกมีสีดำ รสชาติขม ฝิ่นมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้จิตใจเสื่อมโทรม
8.) มอร์ฟีน มีลักษณะเป็นผงสีขาว หรือเหลืองอ่อน ละลายน้ำง่ายไม่มีกลิ่น เป็นสารสกัดที่ได้จากฝิ่น แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่า 8 - 10 เท่ามีฤทธิ์กดประสาทและสมองทำให้ศูนย์ประสาทรับความรู้สึกชา สามารถนำมาใช้วงการแพทย์ใช้สำหรับระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย
9. )เฮโรอีน สกัดจากมอร์ฟีน แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า 10 เท่า เป็นสิ่งเสพติดที่ติดได้ง่าย เสพเพียง 1 - 2 ครั้งก็สามารถติดได้ เฮโรอีนสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ - เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงสีขาวไม่มีกลิ่น รสชาติขมจัด - เฮโรอีนไม่บริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนผสม หรือ ไอระเหย มีสีต่างๆ เช่น ชมพู สีม่วง มีลักษณะเป็นเกล็ด เสพเข้าร่างกายโดยวิธีการสูบไอระเหย เข้าไปตามระบบทางเดินลมหายใจ ผลเสีย ของสารเสพติด สามารถสรุปได้ดังนี้
(1.) ต่อตัวเอง ร่างกายทรุดโทรม ทำให้เกิดโรค สมองเสื่อม เสียบุคลิกภาพ
(2.) ต่อสังคมและประเทศชาติ เพราะประเทศต้องเลี้ยงดู รักษา ผู้ที่ติดสารเสพติดเป็นจำนวนมาก เป็นภาระต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ทำให้สูญเสียแรงงานของชาติ สูญเสียงบประมาณของประเทศ
(3.) ต่อครอบครัว ทำให้สิ้นเปลือง ขาดความรับผิดชอบ ทำให้เสียชื่อเสียง เป็นภาระของผู้อื่น บางรายหลังจากที่มีการเสพเข้าไปแล้ว จะมีการทำร้ายบุคคลในครอบครัว หรือบางรายไมมีเงินซื้อสิ่งเหล่านี้มาเสพจะเกิดการลักขโมย ทำร้ายผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินที่จะนำไปซื้อยาเสพติด สาเหตุ ของการติดสิ่งเสพติด
(1.) อยากลอง อยากรู้ อยากสัมผัส
(2.) ถูกชักชวน ถูกหลอกลวง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(3.) สาเหตุมาจากครอบครัว ขาดความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว
(4.)จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ทำให้เด็กประพฤติตาม ลักษณะ ของผู้ติดยา
(1.) สุขภาพทรุดโทรม ผอม ซูบซีด เจ็บป่วยง่าย ตาแดง ตาโรย น้ำมูลไหล น้ำตาไหล
(2.) มีร่องรอยการเสพยาตามร่างกาย นิ้วมือมีคราบเหลืองมีรอยการเสพยาด้วยเข็ม
(3.) ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง เป็นหนอง น้ำเหลืองคล้ายคนเป็นโรคผิวหนัง พฤติกรรม ของผู้ติดสิ่งเสพติด
(1.) ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเอง
(2.) แต่งกายไม่เรียบร้อย สกปรก
(3.) สีหน้าแสดงความวิตก ซึมเศร้า ไม่กล้าที่จะสู้หน้าคน
(4.) เมื่อขาดยา มีอาการกระวนกระวาย หายใจลึก กล้ามเนื้อกระตุก ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง การป้องกัน การเสพยาเสพติด
(1.) เลือกคบเพื่อนที่ดี หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่ติดสิ่งเสพติด
(2.) ไม่ทดลอง สิ่งเสพติดทุกชนิด
(3.) เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หากิจกรรมนันทนาการเล่นเมื่อมีเวลาว่าง
(4.) สถาบันการศึกษาควรให้การอบรมเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
(5.) ควรมีความอบอุ่นแก่ครอบครัว ดูแลสมาชิกในครอบครัว อย่างใกล้ชิด
(6.) เมื่อมีปัญหาควรที่จะปรึกษาผู้ใหญ

ความสัมพันธุ์ของระบบต่างๆ

ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ ประกอบกันเป็นร่างกาย การทำงานของอวัยวะจะทำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เช่น ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะหลายอวัยวะ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะ ไม่มีสารย่อยแต่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย อวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ หัวใจ เส้นเลือด การหดและการขยายตัวของเส้นเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เรียกว่า ชีพจร ระบบหายใจ การหายใจของมนุษย์มีผลต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สในถุงลมปอด ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ คือ จมูก ปอด ถุงลม กล้ามเนื้อ กะบังลม และซี่โครง ระบบขับถ่ายจะมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว คือ ไต และผิวหนังในรูปของแก๊ส คือ ปอด ในรูปของของแข็ง คือ ลำไส้ใหญ่
ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก จึงต้องการแก๊สออกซิเจน และสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารให้เกิดพลังงาน ระบบหายใจจึงต้องทำงานหัก เราจึงหายใจถี่และเร็วเพื่อนำแก็สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป การหมุนเวียนเลือดในร่างกายก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว หัวใจจะเต้นเร็วเพื่อสูบฉีดเลือดให้ทันต่อความต้องการของร่างกาย ของเสียในรูปของเหลวก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบขับถ่ายของร่างกายก็จะขับเหงื่อออกจำนวนมาก หลังจากออกกำลังกายก็จะรู้สึกหิว และกระหายน้ำ เราจึงต้องดื่มน้ำและกินอาหาร ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารต้องทำงานต่อไป การทำงานของระบบต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง หากระบบใดระบบหนึ่งบกพร่องไปร่างกายก็จะอ่อนแอส่งผลต่อสุขภาพได้

ระบบการขับถ่าย

ระบบขับถ่าย
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น
ไต มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ โครงสร้างของระบบขับถ่าย ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง การดูแลรักษาระบบขับถ่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก การกำจัดของเสียออกทางไต ไต เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ 1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม และยูเรีย 2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่ กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ การกำจัดของเสียทางปอด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้ การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้ การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ
ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ จมูก หลอดลม และปอด
3.1 จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป
3.2 หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
3.3 ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ปอดแต่ละข้างประกอบด้วยขั้วปอด ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า แขนงขั้วปอด ที่ปลายของแขนงขั้วปอดจะพองออกเป็นถุงลมเล็กๆ มากมาย สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เรียกว่า ถุงลมปอด
นอกจากอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงจะบีบตัวและขยายออก กล้ามเนื้อที่กะบังลมจะหดตัวเหยียดตรง ทำให้ช่องอกมีที่ว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่หลอดลมลงไปที่ปอดแต่ละข้าง แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะซึมออกจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม ปอดทำให้อากาศในถุงลมมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ซี่โครง กะบังลมและกล้ามเนื้อช่องท้อง คลายตัวกลับสู่สภาพเดิม ทำให้บริเวณช่องอกแคบลง แล้วออกจากร่างกายทางช่องจมูก เป็นลมหายใจออก

ระบบวงจรเลือด

ระบบวงจรเลือด
ระบบวงจรเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งนำแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เกิดขึ้นกำจัดออกนอกร่างกาย ระบบวงจรเลือดประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด ซึ่งอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้
1. หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดของระบบวงจรเลือด หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อพิเศษ ตั้งอยู่ในทรวงอกด้านซ้าย มีรูปร่างคล้ายดอกบัวตูมมีขนากเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ ภายในหัวใจเป็นโพรงแบ่งเป็น 4 ห้อง คือ ห้องบนซ้าย ห้องบนขวา ห้องล่างซ้ายและห้องล่างขวา โดยระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างในด้านเดียวกัน จะมีลิ้นหัวใจทำหน้าที่ปิดเปิดไม่ให้เลือดหัวใจไหลย้อยกลับได้
หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่หัวใจคลายตัวก็จะสูบเลือดเข้า และขณะที่หัวใจบีบตัวก็เป็นการฉีดเลือดออกไป การเต้นของชีพจรมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย เพราะขณะที่ออกกำลังกาย ร่างกายของคนเราต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น การสูบฉีดเลือดภายในร่างกายจึงสูงขึ้น เมือหัวใจต้องสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น ชีพจรจึงเต้นเร็วขึ้นด้วย
2 หลอดเลือด มีอยู่ทั่วร่างกาย ประกอบด้วยหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่ถูกสูบฉีด ออกจากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายในหลอดเลือดแดงมีเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนมาก หลอดเลือดดำ ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดกลับสู่หัวใจ ภายในหลอดเลือดคำมีเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก
3 เลือด เป็นของเหลวอยู่ในหลอดเลือด ประกอบด้วยของเหลว ที่เรียกว่า น้ำเลือดและเม็ดเลือน ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข่าสู่ร่างกาย และสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายของเรา

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารประกอบด้วย ปาก ลิ้น ฟัน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้
(1.1) ปาก เป็นอวัยวะส่วนแรงของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ริมฝีปากและลิ้นจะทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และลิ้นยังทำหน้าที่รับรสชาติอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายเพื่อให้อาหารอ่อนนุ่ม กลืนสะดวก นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำย่อยช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาลด้วย
(1.2) หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก หลอดอาหารไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น
(1.3) ตับและตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน

(1.4) กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ตั้งบริเวณใต้ทรวงอกของคนเรา ส่วนบนของกระเพาะอาหารจะเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร และส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในลำไส้เล็กย้อยกลับสู่กระเพาะอาหารได้อีกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ กระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีนเท่านั้น โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย


( 1.5) ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารที่สำคัญที่สุดและมีความยาวที่สุด ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกประเภท และการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด
(1.6) ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดใหญ่ ส่วนปลายเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่เหลืออยู่ในกากอาหาร ทำให้กากอาหารเป็นก้อนอุจจาระ นอกจากนี้ลำไส้ใหญ่ยังขับเมือกออกมาหล่อลื่น ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้
เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่างๆ ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับอออกมาทางทวารหนัก

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระบบการสืบพันธุ์เพศหญิง

ระบบการสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
(1.) รังไข่ (ovaries) เป็นแหล่งสร้างไข่ (oogenesis) มี 1 คู่ อยู่แต่ละข้างของปีกมดลูกใกล้กับ lateral wall ของ pelvis ในระยะวัยสาวรุ่น เริ่มมีการตกไข่ (ovulation) ที่มีลักษณะเป็นวงจร ซึ่งวงจรการตกไข่ (ovarian cycle) ต่อเนื่องตลอดไป (เว้นเมื่ออายุมาก) วงจรนี้จะหยุดชั่วคราวในระยะตั้งครรภ์ ขบวนการตกไข่ ควบคุมด้วย gonadotrophic hormones สร้างและหลั่งจาก anterior pituitary gland รังไข่เป็นทั้งต่อมมีท่อและไร้ท่อ ในส่วนของต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ estrogen และ progesterone ซึ่งมีอิทธิพลต่อการทำงาน และการเจริญของ genital tracts, ต่อมน้ำนมและวงจรการตกไข่
(2.) ท่อนำไข่และอวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ได้แก่ uterine tube (ปีกมดลูก หรือ oviducts หรือ fallopian tubes), uterus (มดลูก), cervix (ปากมดลูก), vagina (ช่องคลอด), labia majora, minora, clitoris และ valva
(3.) เต้านม (breasts) เป็น modified apocrine sweat glands ซึ่งเจริญเติบโตในระยะวัยสาว และค่อย ๆ เสื่อมในระยะวัยหมดประจำเดือน ในระยะมีครรภ์ส่วนที่สร้างน้ำนม (secretory portion) เพิ่มขนาดและจำนวนในการสร้างน้ำนมเรียกระยะ lactation (ให้นมบุตร)
ระยะต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเพศหญิง
(1.)หญิงเมื่อย่างสู่วัยเจริญพันธ์ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะผลิตฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH โดยFSHจะกระตุ้นกลุ่มเซลล์สร้างไข่ระยะแรก จนเป็นฟอลิเคิล ในขณะเดียวกัน FSHจะกระตุ้นให้มีการสร้างฮอโมน
ในระยะไม่ตั้งครรภ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมีวงจรการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง เริ่มจากระยะวัยสาว (puberty) จนถึงวัยหมดประจำเดือน (menopause) ในวงจรการตกไข่เมื่อมีการตกไข่ แต่ถ้าไม่มีการผสมพันธุ์ เนื้อผิวของโพรงมดลูก (endometrium) ที่หนาจะค่อย ๆ เสื่อมไปและหลุดออกลอกต่อมาเริ่มวงจรใหม่ ในคนระยะที่เนื้อผิวของโพรงมดลูกหนา และหลุดลอกให้เป็นเลือดออกจากช่องคลอด เป็นเวลา 3-5 วัน เรียกว่าระยะประจำเดือน (menstruation) menstrual cycle วันแรกที่มีประจำเดือนไหลออกมา เรียกว่าวันเริ่มของวงจรใหม่เพราะมี follicular maturation พร้อมทั้งมีอิทธิพลของ ovarian estrogen ร่วมด้วยทำให้มี endometrial proliferation (proliferative phase) ตามด้วย secretory phase (อิทธิพลของ ovarian progesterone) และ menstural phase (ไม่มีอิทธิพลของฮอร์โมนจากรังไข่) บางตำราเรียกว่าวงจรนี้เป็น menstral cycle ซึ่งมีระยะเวลา 28 วัน การตกไข่อยู่ระหว่างกลางของวงจร (ประมาณวันที่ 14) โดยสรุปวงจรของการตกไข่ และการมีประจำเดือนเกิดร่วมกับอิทธิพลของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่หลั่งมาจากรังไข่ และต่อมใต้สมอง