วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การสืบพันธุ์เพศชาย

การสืบพันธุ์เพศชาย
การสืบพันธ ุ์หมายถึง การเพิ่มจำนวนหรือการให้กำเนิดลูกหลานที่เหมือนพ่อแม่หรือบรรพบุรุษ เพื่อทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
เพื่อให้เผ่าพันธุ์ได้ดำรงไว้
1.อัณฑะ เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อันทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลักษระต่างๆของเพศชาย เช่น การมีหนวด เครา เสียงห้าว ภายในอัณฑะประกอบด้วย หลอดสร้างอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ มีข้างละประมาณ 800 หลอด ยาวทั้งหมดประมาณ 800 เมตร
2.ถุงหุ้มอัณฑะ อยู่นอกช่องท้อง ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้เมาะสมในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอุณหภูมิจะต่ำกว่าในร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
3.หลอดเก็บอสุจิ อยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อๆเล็ก ยาวประมาณ 6 เมตร ขดไปมาทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ
4.หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5.ต่อมสร้างนำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อเลี้ยงตัวอสุจิ
6.ต่อมลูกหมาก อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะ
7.ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่ หลั่งสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็วขึ้น

โดยทั่วไป เพศชายจะเข้าสู่วัยที่สร้างตัวอสุจิ เมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี สร้างไปตลอดชีวิต การหลั่งอสุจิแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาประมาณ 3-4 ลบซม. ตัวอสุจิประมาณ 350-500 ล้านตัว ผู้ที่มีตัวอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวนั้นจะเป็นหมัน ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้ประมาณ 1-3 มิลิเมตร ต่อนาที ตัวอสุจิเมื่อเคลื่อนที่ออกภายนอกมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 ชม.ถ้าอยู่ในมดลูกผู้หญิงจะอยู่ได้ นานถึง 24-48 ชม.

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อาหารหลัก5หมู่

~อาหารหลัก 5 หมู่ ~
ประเทศไทยเราได้ แบ่งอาหารออกเป็น 5หมู่ โดยจัดอาหารที่ให้สารอาหารคล้ายกัน เข้าไว้ในหมู่เดียวกัน เพื่อให้เราสามารถพิจารณาได้ว่าได้กินอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือไม่ อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้ หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ดังนั้น ในวันหนึ่งๆ เราจะต้องเลือกกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะและในแต่ละหมู่ ควรเลือกกินให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารต่างๆ ครบตามต้องการของร่างกาย อันจะนำไปสู่การกินดีมีผลให้เกิด "ภาวะโภชนาการดี"
กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย คือ การกินอาหาร หลายๆ ชนิด เพื่อให้ร่างกาย ได้รับ สารอาหาร ต่างๆ ครบในปริมาณ ที่เพียงพอ กับความต้องการ ถ้ากินอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ หรือกินอาหาร ซ้ำซากเพียง บางชนิด ทุกวัน อาจทำให้ได้รับ สารอาหารบางประเภท ไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป อาหารแต่ละ ชนิด ประกอบด้วย สารอาหาร หลายประเภท ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำและยังมี สารอื่นๆ เช่น ใยอาหารซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำงานได้ตามปกติในอาหาร แต่ละชนิดจะประกอบด้วยสารอาหาร ต่างๆ ในปริมาณที่มากน้อยต่างกัน โดยไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่จะมีสารอาหารต่างๆ ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ของร่างกาย ดังนั้น ในวันหนึ่งๆ เราต้องกิน อาหารหลายๆ ชนิด เพื่อให้ได้ สารอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการ
อาหารหลัก 5 หมู่ มีดังนี้
หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ 3 พืชผัก ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ

หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์ เช่นเดียวกับหมู่ที่ 3
หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย


ถ้าเกิดเราทานไข่เจียวหมูสับราดข้าว เราจะได้สารอาหารในหมู่ใดบ้าง
หมู่ที่ 1,3,4 หมู่ที่ 1,2

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สิ่งเสพติด

สิ่งเสพติด
สิ่งเสพติด คือ ยาประเภทหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้ผู้ได้รับมีความต้องการมากขึ้นเรื่อย โดยจะเข้าสู่ร่างกายโดยการ กิน สูบ ฉีด หรือดม ผลของสิ่งเสพติดต่อการทำงานของผู้เสพจะเกิดโทษต่างๆ เช่น
1.) บุหรี่ ในบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งจะระเหยออกมาพร้อมกับควันบุหรี่ สารนิโคติน จะเป็นอันตรายต่อหัวใจ ระบบประสาท อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เป็นต้น
2.) น้ำชา กาแฟ จะมีสารคาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้รู้สึกสดชื่นหายง่วง
3.) สุรา เครื่องดื่มทุกชนิด ที่ดื่มแล้วทำให้มันเมา ในสุรามีแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์เข้าไปในกระแสเลือด เลือดก็จะนำไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเราดื่มมากๆ อาจจะทำให้เป็นโรคตับแข็ง และยังเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ปอด เป็นต้น
4.) ยาบ้า หรือ แอมเฟตามีน มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทและสมอง ทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะทำให้มึนงง นอนไม่หลับ ตกใจง่าย อ่อนล้า คลุ้มคลั่ง ประสาท หลอน คลื่นไส้ อาเจียน อาจถึงขั้นหลอดเลือดในสมองแตกและหัวใจวาย
5. ) สารระเหย เป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย ในอุณหภูมิปกติจะพบในรูปของตัวทำละลาย เช่น ทินเนอร์ น้ำยาล้างเล็บ กาว เป็นต้น เมื่อร่างกายรับสารระเหยเข้าไปในระยะแรก จะเกิดอาการตื่นเต้น ร่าเริงต่อมาจะมีอาการมึนงง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จะง่วงซึมและหมดสติในที่สุด
6.) กัญชา เป็นพืชล้มลุก ในใบ ดอก ลำต้นกัญชาจะมีสารเสพติดที่เป็นน้ำมัน เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระตุก ปวดร้าว สมองมึนงง ความคิดสับสน กระหายน้ำ หวาดผวา เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกาย
7.) ฝิ่น ได้จากเปลือกผลดิบมีลักษณะเป็นยาง เรียกว่า ฝิ่นดิบ นำมาเคี่ยวให้สุกมีสีดำ รสชาติขม ฝิ่นมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้จิตใจเสื่อมโทรม
8.) มอร์ฟีน มีลักษณะเป็นผงสีขาว หรือเหลืองอ่อน ละลายน้ำง่ายไม่มีกลิ่น เป็นสารสกัดที่ได้จากฝิ่น แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่า 8 - 10 เท่ามีฤทธิ์กดประสาทและสมองทำให้ศูนย์ประสาทรับความรู้สึกชา สามารถนำมาใช้วงการแพทย์ใช้สำหรับระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย
9. )เฮโรอีน สกัดจากมอร์ฟีน แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า 10 เท่า เป็นสิ่งเสพติดที่ติดได้ง่าย เสพเพียง 1 - 2 ครั้งก็สามารถติดได้ เฮโรอีนสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ - เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงสีขาวไม่มีกลิ่น รสชาติขมจัด - เฮโรอีนไม่บริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนผสม หรือ ไอระเหย มีสีต่างๆ เช่น ชมพู สีม่วง มีลักษณะเป็นเกล็ด เสพเข้าร่างกายโดยวิธีการสูบไอระเหย เข้าไปตามระบบทางเดินลมหายใจ ผลเสีย ของสารเสพติด สามารถสรุปได้ดังนี้
(1.) ต่อตัวเอง ร่างกายทรุดโทรม ทำให้เกิดโรค สมองเสื่อม เสียบุคลิกภาพ
(2.) ต่อสังคมและประเทศชาติ เพราะประเทศต้องเลี้ยงดู รักษา ผู้ที่ติดสารเสพติดเป็นจำนวนมาก เป็นภาระต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ทำให้สูญเสียแรงงานของชาติ สูญเสียงบประมาณของประเทศ
(3.) ต่อครอบครัว ทำให้สิ้นเปลือง ขาดความรับผิดชอบ ทำให้เสียชื่อเสียง เป็นภาระของผู้อื่น บางรายหลังจากที่มีการเสพเข้าไปแล้ว จะมีการทำร้ายบุคคลในครอบครัว หรือบางรายไมมีเงินซื้อสิ่งเหล่านี้มาเสพจะเกิดการลักขโมย ทำร้ายผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินที่จะนำไปซื้อยาเสพติด สาเหตุ ของการติดสิ่งเสพติด
(1.) อยากลอง อยากรู้ อยากสัมผัส
(2.) ถูกชักชวน ถูกหลอกลวง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(3.) สาเหตุมาจากครอบครัว ขาดความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว
(4.)จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ทำให้เด็กประพฤติตาม ลักษณะ ของผู้ติดยา
(1.) สุขภาพทรุดโทรม ผอม ซูบซีด เจ็บป่วยง่าย ตาแดง ตาโรย น้ำมูลไหล น้ำตาไหล
(2.) มีร่องรอยการเสพยาตามร่างกาย นิ้วมือมีคราบเหลืองมีรอยการเสพยาด้วยเข็ม
(3.) ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง เป็นหนอง น้ำเหลืองคล้ายคนเป็นโรคผิวหนัง พฤติกรรม ของผู้ติดสิ่งเสพติด
(1.) ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเอง
(2.) แต่งกายไม่เรียบร้อย สกปรก
(3.) สีหน้าแสดงความวิตก ซึมเศร้า ไม่กล้าที่จะสู้หน้าคน
(4.) เมื่อขาดยา มีอาการกระวนกระวาย หายใจลึก กล้ามเนื้อกระตุก ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง การป้องกัน การเสพยาเสพติด
(1.) เลือกคบเพื่อนที่ดี หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่ติดสิ่งเสพติด
(2.) ไม่ทดลอง สิ่งเสพติดทุกชนิด
(3.) เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หากิจกรรมนันทนาการเล่นเมื่อมีเวลาว่าง
(4.) สถาบันการศึกษาควรให้การอบรมเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
(5.) ควรมีความอบอุ่นแก่ครอบครัว ดูแลสมาชิกในครอบครัว อย่างใกล้ชิด
(6.) เมื่อมีปัญหาควรที่จะปรึกษาผู้ใหญ

ความสัมพันธุ์ของระบบต่างๆ

ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ ประกอบกันเป็นร่างกาย การทำงานของอวัยวะจะทำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เช่น ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะหลายอวัยวะ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะ ไม่มีสารย่อยแต่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย อวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ หัวใจ เส้นเลือด การหดและการขยายตัวของเส้นเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เรียกว่า ชีพจร ระบบหายใจ การหายใจของมนุษย์มีผลต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สในถุงลมปอด ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ คือ จมูก ปอด ถุงลม กล้ามเนื้อ กะบังลม และซี่โครง ระบบขับถ่ายจะมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว คือ ไต และผิวหนังในรูปของแก๊ส คือ ปอด ในรูปของของแข็ง คือ ลำไส้ใหญ่
ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก จึงต้องการแก๊สออกซิเจน และสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารให้เกิดพลังงาน ระบบหายใจจึงต้องทำงานหัก เราจึงหายใจถี่และเร็วเพื่อนำแก็สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป การหมุนเวียนเลือดในร่างกายก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว หัวใจจะเต้นเร็วเพื่อสูบฉีดเลือดให้ทันต่อความต้องการของร่างกาย ของเสียในรูปของเหลวก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบขับถ่ายของร่างกายก็จะขับเหงื่อออกจำนวนมาก หลังจากออกกำลังกายก็จะรู้สึกหิว และกระหายน้ำ เราจึงต้องดื่มน้ำและกินอาหาร ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารต้องทำงานต่อไป การทำงานของระบบต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง หากระบบใดระบบหนึ่งบกพร่องไปร่างกายก็จะอ่อนแอส่งผลต่อสุขภาพได้

ระบบการขับถ่าย

ระบบขับถ่าย
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น
ไต มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ โครงสร้างของระบบขับถ่าย ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง การดูแลรักษาระบบขับถ่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก การกำจัดของเสียออกทางไต ไต เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ 1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม และยูเรีย 2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่ กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ การกำจัดของเสียทางปอด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้ การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้ การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ
ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ จมูก หลอดลม และปอด
3.1 จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป
3.2 หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
3.3 ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ปอดแต่ละข้างประกอบด้วยขั้วปอด ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า แขนงขั้วปอด ที่ปลายของแขนงขั้วปอดจะพองออกเป็นถุงลมเล็กๆ มากมาย สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เรียกว่า ถุงลมปอด
นอกจากอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงจะบีบตัวและขยายออก กล้ามเนื้อที่กะบังลมจะหดตัวเหยียดตรง ทำให้ช่องอกมีที่ว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่หลอดลมลงไปที่ปอดแต่ละข้าง แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะซึมออกจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม ปอดทำให้อากาศในถุงลมมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ซี่โครง กะบังลมและกล้ามเนื้อช่องท้อง คลายตัวกลับสู่สภาพเดิม ทำให้บริเวณช่องอกแคบลง แล้วออกจากร่างกายทางช่องจมูก เป็นลมหายใจออก

ระบบวงจรเลือด

ระบบวงจรเลือด
ระบบวงจรเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งนำแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เกิดขึ้นกำจัดออกนอกร่างกาย ระบบวงจรเลือดประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด ซึ่งอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้
1. หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดของระบบวงจรเลือด หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อพิเศษ ตั้งอยู่ในทรวงอกด้านซ้าย มีรูปร่างคล้ายดอกบัวตูมมีขนากเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ ภายในหัวใจเป็นโพรงแบ่งเป็น 4 ห้อง คือ ห้องบนซ้าย ห้องบนขวา ห้องล่างซ้ายและห้องล่างขวา โดยระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างในด้านเดียวกัน จะมีลิ้นหัวใจทำหน้าที่ปิดเปิดไม่ให้เลือดหัวใจไหลย้อยกลับได้
หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่หัวใจคลายตัวก็จะสูบเลือดเข้า และขณะที่หัวใจบีบตัวก็เป็นการฉีดเลือดออกไป การเต้นของชีพจรมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย เพราะขณะที่ออกกำลังกาย ร่างกายของคนเราต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น การสูบฉีดเลือดภายในร่างกายจึงสูงขึ้น เมือหัวใจต้องสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น ชีพจรจึงเต้นเร็วขึ้นด้วย
2 หลอดเลือด มีอยู่ทั่วร่างกาย ประกอบด้วยหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่ถูกสูบฉีด ออกจากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายในหลอดเลือดแดงมีเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนมาก หลอดเลือดดำ ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดกลับสู่หัวใจ ภายในหลอดเลือดคำมีเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก
3 เลือด เป็นของเหลวอยู่ในหลอดเลือด ประกอบด้วยของเหลว ที่เรียกว่า น้ำเลือดและเม็ดเลือน ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข่าสู่ร่างกาย และสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายของเรา

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารประกอบด้วย ปาก ลิ้น ฟัน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้
(1.1) ปาก เป็นอวัยวะส่วนแรงของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ริมฝีปากและลิ้นจะทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และลิ้นยังทำหน้าที่รับรสชาติอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายเพื่อให้อาหารอ่อนนุ่ม กลืนสะดวก นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำย่อยช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาลด้วย
(1.2) หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก หลอดอาหารไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น
(1.3) ตับและตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน

(1.4) กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ตั้งบริเวณใต้ทรวงอกของคนเรา ส่วนบนของกระเพาะอาหารจะเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร และส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในลำไส้เล็กย้อยกลับสู่กระเพาะอาหารได้อีกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ กระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีนเท่านั้น โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย


( 1.5) ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารที่สำคัญที่สุดและมีความยาวที่สุด ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกประเภท และการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด
(1.6) ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดใหญ่ ส่วนปลายเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่เหลืออยู่ในกากอาหาร ทำให้กากอาหารเป็นก้อนอุจจาระ นอกจากนี้ลำไส้ใหญ่ยังขับเมือกออกมาหล่อลื่น ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้
เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่างๆ ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับอออกมาทางทวารหนัก

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระบบการสืบพันธุ์เพศหญิง

ระบบการสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
(1.) รังไข่ (ovaries) เป็นแหล่งสร้างไข่ (oogenesis) มี 1 คู่ อยู่แต่ละข้างของปีกมดลูกใกล้กับ lateral wall ของ pelvis ในระยะวัยสาวรุ่น เริ่มมีการตกไข่ (ovulation) ที่มีลักษณะเป็นวงจร ซึ่งวงจรการตกไข่ (ovarian cycle) ต่อเนื่องตลอดไป (เว้นเมื่ออายุมาก) วงจรนี้จะหยุดชั่วคราวในระยะตั้งครรภ์ ขบวนการตกไข่ ควบคุมด้วย gonadotrophic hormones สร้างและหลั่งจาก anterior pituitary gland รังไข่เป็นทั้งต่อมมีท่อและไร้ท่อ ในส่วนของต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ estrogen และ progesterone ซึ่งมีอิทธิพลต่อการทำงาน และการเจริญของ genital tracts, ต่อมน้ำนมและวงจรการตกไข่
(2.) ท่อนำไข่และอวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ได้แก่ uterine tube (ปีกมดลูก หรือ oviducts หรือ fallopian tubes), uterus (มดลูก), cervix (ปากมดลูก), vagina (ช่องคลอด), labia majora, minora, clitoris และ valva
(3.) เต้านม (breasts) เป็น modified apocrine sweat glands ซึ่งเจริญเติบโตในระยะวัยสาว และค่อย ๆ เสื่อมในระยะวัยหมดประจำเดือน ในระยะมีครรภ์ส่วนที่สร้างน้ำนม (secretory portion) เพิ่มขนาดและจำนวนในการสร้างน้ำนมเรียกระยะ lactation (ให้นมบุตร)
ระยะต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเพศหญิง
(1.)หญิงเมื่อย่างสู่วัยเจริญพันธ์ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะผลิตฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH โดยFSHจะกระตุ้นกลุ่มเซลล์สร้างไข่ระยะแรก จนเป็นฟอลิเคิล ในขณะเดียวกัน FSHจะกระตุ้นให้มีการสร้างฮอโมน
ในระยะไม่ตั้งครรภ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมีวงจรการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง เริ่มจากระยะวัยสาว (puberty) จนถึงวัยหมดประจำเดือน (menopause) ในวงจรการตกไข่เมื่อมีการตกไข่ แต่ถ้าไม่มีการผสมพันธุ์ เนื้อผิวของโพรงมดลูก (endometrium) ที่หนาจะค่อย ๆ เสื่อมไปและหลุดออกลอกต่อมาเริ่มวงจรใหม่ ในคนระยะที่เนื้อผิวของโพรงมดลูกหนา และหลุดลอกให้เป็นเลือดออกจากช่องคลอด เป็นเวลา 3-5 วัน เรียกว่าระยะประจำเดือน (menstruation) menstrual cycle วันแรกที่มีประจำเดือนไหลออกมา เรียกว่าวันเริ่มของวงจรใหม่เพราะมี follicular maturation พร้อมทั้งมีอิทธิพลของ ovarian estrogen ร่วมด้วยทำให้มี endometrial proliferation (proliferative phase) ตามด้วย secretory phase (อิทธิพลของ ovarian progesterone) และ menstural phase (ไม่มีอิทธิพลของฮอร์โมนจากรังไข่) บางตำราเรียกว่าวงจรนี้เป็น menstral cycle ซึ่งมีระยะเวลา 28 วัน การตกไข่อยู่ระหว่างกลางของวงจร (ประมาณวันที่ 14) โดยสรุปวงจรของการตกไข่ และการมีประจำเดือนเกิดร่วมกับอิทธิพลของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่หลั่งมาจากรังไข่ และต่อมใต้สมอง