วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โรคติดต่อ hiv

โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
โรค (Disease)หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเกิดความไม่สมดุลย์ ไปจากภาวะปกติ เนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆได้หลายอย่างเช่น การได้รับเชื้อโรค การได้รับอุบัติเหตุการได้รับสิ่งกระทบกระเทือนทางจิตใจหรือทางร่างกายเราสามารถแยกโรคออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ โรคไม่ติดต่อและติดต่อโรคไม่ติดต่อ หมายถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจโรคเบาหวาน ,โรคมะเร็ง ,โรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น
โรคหัวใจ เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจขาดเลือด ,ไข้รูมาติก ,โรคความดันโลหิต ,โรคมะเร็ง ,โรคเบาหวาน ,โรคทางพันธุกรรม โรคจิต ,โรคประสาท ,โรคกระดูกและข้อ
โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่เป็นแล้วสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ สามารถติดได้ทาง ทางเดินหายใจ การสัมผัส ทางเดินอาหาร ทางกระแสเลือด ทางการสืบพันธ์ เป็นต้น
โรคเอดส์โรคตับอักเสบไวรัส ,โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ,โรคติดเชื้อทางทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัด ,วัณโรค โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก
โรคติดต่อที่สำคัญ
โรคเอดส์ (HIV,AIDS)
ประเทศไทยมีการติดเชื้อ HIV เป็นจำนวนมากแม้ว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการสมควรที่ทุกคนจะเรียนรู้ถึงโรคและการป้องกัน หากท่านมีผลเลือดบวกแสดงว่าท่านได้รับเชื้อ HIV จากการร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน หรืออาจจะเกิดจากการฉีดยาเสพติด
HIV และ AIDS ต่างกันอย่างไร
เชื้อ Human Immunodeficiency Virus(hiv) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะแบ่งตัวอย่างมากและมีการเกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ไตและที่สำคัญคือจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่สร้างถูมิเพื่อต่อต้านการติดเชื้อและมะเร็งบางชนิด ในการสร้างภูมิจะต้องอาศัยเซลล์หลายชนิดที่สำคัญได้แก่เซลล์ CD4+ lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์ที่เชื้อ HIV ชอบ เมื่อเซลล์ CD4+ lymphocytes ถูกทำลายโดยเชื้อมากจะทำให้ภูมิของร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นปัญหาที่สำคัญของคนติดเชื้อ HIV คือปัญหาของโรคที่เกิดจากภูมิที่อ่อนแอลงเช่นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส opportunisticinfections เช่นโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมะเร็งบางชนิด ปัจจุบันพบเชื้อ HIV มี2 ชนิดคือ
- HIV-1 เป็นชนิดที่แพร่ระบาดทั่วโลก - HIV-2 พบที่แถบประเทศ Africa HIV-1มี sub-types หลายชนิด
HIV disease คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อHIV และยังไม่เกิดอาการจากเชื้อฉวยโอกาสและมีจำนวนเซลล์ CD4+ lymphocytes มากกว่า 200 cells/mm3(ปกติมากกว่า 100 cell/mm)โดยทั่วไปไม่มีอาการเป็นเวลา 5-10 ปีแม้ว่าจะไม่มีอาการเชื้อก็แบ่งตัวและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเมื่อภูมิถูกทำลายมากจนกระทั่งเกิดโรคที่เกิดจากภูมิบกพร่อง Acquired Immunodeficiency Syndrome หรือโรคเอดส์ คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV และโรคได้ลุกลามจนภูมิคุ้นกันบกพร่อง และอาจจะทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสและมะเร็ง ตามองค์การควบคุมโรคติดเชื้อของอเมริกาหมายถึง
โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Pneumocystis carinii pneumonia (PCP), and cryptococcal meningitis
มะเร็งบางชนิดเช่น cervical cancer, Kaposi’s sarcoma, และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาท ( centralnervous system lymphoma ) CD4+ count น้อยกว่า 200 cells/mm3(ค่าปกติ 600-1000) หรือ 14 percent of lymphocytes
AIDS ทำลายร่างกายอย่างไร
ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและมะเร็ง
สมองถูกทำลายทำให้สมองเสื่อมและความจำเสื่อม ทำให้หัวใจวายมีอาการเหนื่อยง่าย บวมเท้าและท้อง ทำให้ไตวาย ไม่สามารถทำงานประจำวันได้เช่น การขับรถ มีการเปลี่ยนแปลงทางน้ำหนักและท้องร่วงเรื้อรัง

อาการของโรคติดเชื้อ HIV
อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค เนื่องจากเชื้อ HIV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งอาการของการติดเชื้อ HIV จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย เราไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ฉนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือด ในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ
- น้ำหนักลด. มีไข้
- ไอและหายใจลำบาก
เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้
- เหงื่อออกกลางคืน
- ไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรัง
- ไอเรื้อรังและหายใจลำบาก
- ท้องร่วงเรื้อรัง
- ลิ้นเป็นฝ้าขาว
- ปวดศีรษะ
- ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา
- น้ำหนักลด
การติดต่อของเชื้อ HIV
เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้หลายทางดังต่อไปนี้
1. ทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะไม่ได้ใส่ถุงยางคุมกำเนิดเมื่อร่วมเพศกับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ไม่ทราบสถานะของคู่ขา ) ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศระหว่างชายหญิงหรือทางทวารหนัก หรือ ทางปาก หรือการใช้อุปกรณ์ทางเพศร่วมกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เช่น ถุงยางคุมกำเนิด การที่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน แผลริมอ่อน หรือการใช้ยาฆ่า sperm จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
2. การใช้เข็มร่วมกันสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดท่านควรจะใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่นโดยเฉพาะใช้ร่วมกันหลายคนและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ บี
ติดต่อโดยการให้เลือดที่มีเชื้อโรค ซึ่งปัจจุบันการตรวจเลือดและการคัดกรองการบริจาคทำให้ปัญหานี้ลดลง
3. การติดต่อจากแม่ไปลูก เด็กประมาณ1/4-1/3ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ HIV ที่ไม่ได้รับการรักษาจะติดเชื้อ HIV แต่ถ้าหากแม่ได้รับการรักษาโอกาสติดเชื้อจะลดลงโดยเฉพาะหากผ่าตัดทางหน้าท้อง
กิจกรรมที่ไม่ติดต่อ
หลายท่านที่มีเพื่อนหรือญาติเป็นโรค AIDS กังวลจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจนำไปสู่การซึมเศร้าท่านไม่สามารถติดเชื้อจาก อากาศ อาหาร น้ำ ยุงหรือแมลงกัด ห้องน้ำ ช้อนซ่อม ท่านสามารถช่วยผู้ป่วยใส่เสื้อผ้า ช่วยป้อนอาหารอาบน้ำโดยที่ไม่ติดเชื้อ กิจกรรมที่ดำเนินตามปกติมักจะไม่ติดต่อ เช่น การจับมือหรือการสัมผัสภายนอก ,การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน, การใช้ถ้วยชามร่วมกัน, สัมผัสกับเหงื่อหรือน้ำตาก็ไม่ติดต่อ, การว่ายน้ำในสระเดียวกัน, การใช้โถส้วมเดียวกัน, ถูกแมลงหรือยุงกัด, การจูบกัน, การบริจาคเลือด
ความสำคัญของการวินิจฉัย
หลายคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ไม่กล้าเจาะเลือดเพราะเข้าใจผิดว่าไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ หากท่านรอจนกระทั้งเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสจึงรู้ว่าเป็นโรค aids โอกาสที่จะรักษาและป้องกันก็จะน้อยลง ดังนั้นท่านที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อ HIV เช่นใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น มีเพศสัมพันธ์กับคู่ขาหลายคนโดยที่ไม่ได้ป้องกัน รักร่วมเพศ จะต้องรีบตรวจหาเชื้อ หากผลเลือดให้ผลบวกจะได้รับยาที่ชลอการเกิดโรคAIDS และยาที่ลดการติดเชื้อฉวยโอกาสหากท่านไม่เจาะรอจนกระทั้งเป็น AIDS ภูมิของท่านรวมทั้งอวัยวะภายในจะถูกทำลาย
โรคติดเชื้อ HIV และระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) เข้ากระแสเลือดเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การทำลายภูมิอาจจะเร็วต่างกันในแต่ละคน บางคนทำลายเร็วไม่กี่ปีก็เป็นโรคเอดส์ แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 10 ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงที่ควรทราบดังนี้
การเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ HIV ในเลือด (viral load) จะสามารถคาดการณ์ไดว่าเชื้อจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันเร็วแค่ไหน ถ้าเชื้อมีปริมาณมากจะทำลายภูมิของร่างกายเร็ว ยาต้านไวรัส HIV ที่ดีจะสามารถยับยังการแบ่งตัวของเชื้อทำให้หยุดยั้งการดำเนินของโรค การเจาะเลือดหาเซลล์ CD-4 จะบ่งบอกสภาพภูมิของร่างกาย เซลล์ CD-4 ยิ่งต่ำภูมิยิ่งบกพร่องมากขึ้นเท่านั้น หากไม่ได้รักษาเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันอย่างมากทำให้ร่างกายติดเชื้อฉวยโอกาส โดยเฉพาะปริมาณเซลล์ CD-4 น้อยกว่า 300 ถ้าหากต่ำกว่า 100 จะมีการติดเชื้อรุนแรง
ใครควรที่จะต้องเจาะเลือดหาเชื้อHIV
ผู้ที่ได้รับเลือดและหรือน้ำเหลืองก่อนปี คศ.1970-1980 รักร่วมเพศ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นโดยไม่ได้ป้องกัน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ผู้ที่มีคู่ขาหลายคน ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข่นซิฟิลิส หนองใน ผู้ติดยาเสพติดเข้าเส้น คนท้อง คนท้องกับโรคAIDS คนท้องทุกคนควรได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากผลเลือดบวกก็ควรจะได้รับยา antiretrovirals เพื่อป้องกันเชื้อถ่ายจากแม่ไปลูก และไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
การตรวจหาการติดเชื้อ
เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิของโรค เจาะเลือดตรวจหาภูมิโดยวิธี enzyme-linked immunoabsorbent assay (ELISA) ถ้าให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธีการ Western Blot แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้เร็วคือหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 6 เดือนจึงให้ผลบวก
การตรวจ HIV PCR เป็นการตรวจหาตัวเชื้อหลังจากสัมผัสโรคโดยที่ภูมิยังไม่ขึ้น
การป้องกันการติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อ HIV เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่นการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถลดการเกิดอัตราติดเชื้อเหมือนที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการให้ใช้ถุงยาง 100 % เนื่องจากยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนที่ป้องกันโรคดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรค
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
สมัยก่อนผู้ที่ติดเชื้อมักจะเป็นพวกรักร่วมเพศ หรือฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อHIV พบได้ใน วัยรุ่น คนทำงาน ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม่บ้าน คือสามารถพบได้ทั่วๆไป ดังนั้นทุกคนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หากไม่ป้องกันหรือประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
โรคและการป้องกัน
โรคเป็นความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ เกิดได้ทั้งในคนและสัตว์ โรคมีทั้งโรคไม่ติดต่อ และโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายจึงไม่ติดต่อกัน เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น แต่โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคถ่ายทอดจากคน สัตว์ หรือแมลงที่เป็นโรคไปสู่คนปกติ
1.)การสัมผัสโดยตรง เชื้อโรคจะแพร่เชื้อออกจากตัวผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นได้โดยการสัมผัสใกล้ชิด เสียดสีแตะต้องน้ำมูก น้ำลาย หรือไอ จามกัน เสมหะจากการไอจามรดกันจะกระจายไปได้ไกล ประมาณ 15 ฟุต
2.) การสัมผัสทางอ้อม เชื้อโรคจะแพร่จากผู้ป่วยไปยังบุคคลอื่นได้โดยอาศัยสิ่งอื่นนำไป เช่น น้ำ ดิน อาหาร วัตถุ แมลง สัตว์ ตลอดจนเสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่างๆ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ 4 ทาง คือทางปาก ทางหายใจ ทางผิวหนัง และทางอวัยวะสืบพันธุ์ โรคที่พบเสมอๆ แบ่งออกเป็น 4 พวก คือ
1) โรคติดต่อจากการสัมผัส ได้แก่ เหา หิด กลาก เกลื้อน พุพอง เยื่อตาอักเสบ และริดสีดวงตา การติดต่อเกิดจากการใกล้ชิด ใช้เสื้อผ้า เครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย
2) โรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด คอตีบ วัณโรค ไอกรน ติดต่อโดยหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อโรคเข้าไป
3) โรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ บิด ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดใหญ่ อหิวาตกโรค พยาธิลำไส้ ไข้รากสากน้อย(ไทฟอยด์)บิด อหิวาตกโรคเกิดจากกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อบิด เชื้อไทฟอยด์ เชื้ออหิวาตกโรคเข้าไป ไข้รากสาดใหญ่เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่งโดยมี เหาหรือหมัดหนูหรือตัวไรอ่อนเป็นตัวนำโรค

ไม่มีความคิดเห็น: